ไม่มีใครควรได้สวัสดิการที่ดีแต่เพียงผู้เดียว

29 กรกฎาคม 2021 | by salmonbooks

ชีวิตของแต่ละคนไม่สามารถดีขึ้นได้ด้วยความพยายามของตัวเองเพียงอย่างเดียว หากมองแบบใกล้ตัว เราทุกคนต่างเติบโตได้ด้วยการสนับสนุนจากคนในครอบครัว เพื่อน หรือคนในชุมชน 

แต่หากขยับออกมามองเป็นภาพกว้าง เราจำเป็นต้องพึ่งพาโครงสร้างทางสังคมที่ดี ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนมีโอกาสใช้ชีวิตและทำตามความฝันด้วยความเท่าเทียมกัน สวัสดิการจากภาครัฐจึงเป็นสิ่งที่ผู้คนออกมาเรียกร้องกันมากขึ้นในยุคที่ทุกคนตื่นรู้เรื่องสิทธิที่พึงมี

เราจึงอยากชวนทุกคนไปดูสวัสดิการต่างๆ ที่ต่างประเทศมี แล้วหันมาเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในประเทศไทยผ่านการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและพูดคุยกับผู้คนของ ‘ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย’ นักเขียนสารคดีและบรรณาธิการเว็บไซต์ The101.world ซึ่งเล่าไว้ใน ‘ไม่มีใครเป็นเจ้าของความหวังเพียงผู้เดียว’ หนังสือรวมสารคดีที่ว่าด้วยความหวังในชีวิตของผู้คน

สวัสดิการผู้สูงอายุ

ในปี 2017 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 11.3 ล้านคน หรือ 16.7% ของประชากรทั้งหมด สิ่งที่น่าสนใจก็คือ แหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุส่วนใหญ่มาจากบุตร (ร้อยละ 34.7) ซึ่งเมื่อคำนวณอัตราการพึ่งพิงแล้วจะพบว่า ประชากรวัยทำงาน 100 คน จะต้องรับภาระประชากรสูงอายุและวัยเด็ก 51 คน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 64 คนในปี 2027 

ผู้สูงอายุซึ่งทำงานมาตลอดชีวิตจ่ายภาษีเพื่อขับเคลื่อนประเทศ แต่เมื่อยามเกษียณ ไม่มีกำลังวังชาเหมือนก่อน กลับไม่มีตาข่ายรองรับที่ดีพอจากภาครัฐ ปัจจุบันมีเพียงเบี้ยยังชีพ 600 บาทต่อเดือนสำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (และเพิ่มขึ้น 100 บาท ทุกๆ 10 ปี) ในขณะที่แรงงานที่ได้ค่าจ้างวันละ 300 บาทยังแทบดำรงชีวิตไม่ได้เลย

หากดูในต่างประเทศอย่างออสเตรเลีย มีการให้เงินบำนาญผู้สูงอายุ (Old Age Pension) เป็นรายสองสัปดาห์ คนโสดได้ 868.30 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 21,200 บาท) ส่วนคนมีคู่ได้คนละ 654.50 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 15,962 บาท) อีกทั้งยังมีบัตรผู้สูงอายุที่ให้ส่วนลดสำหรับซื้อของใช้และยารักษาโรค ยังไม่รวมสิทธิพิเศษในการเข้ารับการดูแลสุขภาพ เช่น การช่วยค่่ารักษา ฉีดวัคซีนฟรี หรือบริการตรวจจับหาโรคมะเร็งอีกด้วย

หากคุณรู้สึกท้อแท้กับอนาคตที่ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย เราอยากชวนให้คุณลองอ่านบท ‘New Year: No-Solution? ปีใหม่ที่ไร้อนาคต?’ เพื่อจะได้รู้ยังมีเยาวรุ่นและวัยทำงานอีกมากมายในประเทศนี้ที่แบกภาระหนักอึ้งจนไม่เห็นอนาคตคล้ายกับคุณเลย หากทุกคนออกมาเรียกร้องสวัสดิการอย่าง Universal Basic Income รวมถึงชีวิตที่ดีพร้อมๆ กัน ปีใหม่ที่สดใสก็อาจจะรอเราอยู่ไม่ไกล

สวัสดิการในช่วงโควิด-19

ย้อนกลับไปเมื่อปีก่อน ปาณิสได้ลงพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินแล้วพูดคุยกับคนไร้บ้านที่ต้องมาเฝ้ารอใครสักคนมาแจกข้าวกล่อง รวมถึงผู้ประกอบการที่ต้องรับมือกับรายได้ที่ลดลงในช่วงโควิด-19 จนกลายเป็นสารคดีเรื่อง ‘ราษฎร์ลำเค็ญบนราชดำเนิน’ เวลาผ่านเข้าสู่ปีที่สองภาพเหตุการณ์ในสารคดีคล้ายว่ายังหยุดนิ่งอยู่ที่เดิม

หากดูสถานการณ์ในหลายๆ ประเทศ จากที่เคยมียอดผู้ติดเชื้อสูงกว่าเราหลายเท่า ปัจจุบันแม้แต่คนไร้บ้านในสหรัฐฯ ก็ได้ฉีดวัคซีนที่มีคุณภาพสูงอย่าง Moderna แล้ว ในหลายๆ ประเทศที่วางแผนรอบคอบ นำวัคซีนเข้ามาหลายตัว ก็เลือกที่จะฉีดวัคซีน Johnson & Johnson ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการติดเชื้อหลังฉีดเพียงหนึ่งโดสให้กับคนไร้บ้าน เพราะมีความเป็นไปได้ที่จะติดตามให้คนเหล่านี้กลับมาฉีดเข็มที่สอง

ยังไม่รวมถึงมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากภาครัฐ เช่น สหรัฐฯ ให้เงิน 1,200 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 39,000 บาท) สำหรับคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 99,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.2 ล้านบาท) ซึ่งถือเป็นเพดานที่สูงมาก ชนชั้นกลางที่ทำธุรกิจก็ยังได้รับเงินช่วยเหลือ 

ฮ่องกงก็แจกเงินให้ประชากรผู้ใหญ่ 10,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 41,200 บาท) ต่อคน ญี่ปุ่นมอบเงินให้ประชาชน 100,000 เยน (ประมาณ 28,800 บาท) ต่อคน ส่วนสิงคโปร์มอบเงินให้ประชาชนคนละ 600 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 14,300 บาท) 

ทั้งหมดนี้ เทียบไม่ได้เลยกับเงิน 5,000 บาท ที่รัฐบาลไทยแจกผ่านระบบประกันสังคมในกรอบเวลาเพียงหนึ่งเดือน และการช่วยเหลือเยียวยาต่างๆ ก่อนหน้านี้ที่ประชาชนต้องตื่นตั้งแต่ตีห้าเพื่อแย่งกันลงทะเบียน แถมยังต้องเสียเงินจองวัคซีนที่มีคุณภาพกว่าวัคซีนที่รัฐจัดหาให้ด้วยภาษีประชาชน

การศึกษา

ในบท ‘50 ปีหลังมนุษย์เหยียบดวงจันทร์ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยยังอยู่ที่เดิม’ เล่าถึงชีวิตเด็กน้อยซึ่งอยู่ในครอบครัวฐานะยากจนผู้มีรายได้ต่ำกว่าวันละ 100 บาท ต้องต่อสู้ปีนป่ายเพื่อข้ามกำแพงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ในระหว่างที่เพื่อนหลายคนปล่อยมือยอมแพ้และออกจากระบบการศึกษาไปทีละคน

คนไทยคงได้ยินเหตุการณ์เหล่านี้กันบ่อยๆ รวมถึงข่าวเด็กที่พยายามต่อสู้หาเงินส่งตัวเองเรียนก็มีให้เห็นในสื่อตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่ก็คล้ายว่ากระทรวงศึกษาธิการไทยยังคงนั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง ออกนโยบายสร้างภาระให้กับครูโดยที่ไม่เคยเห็นหัวใจของเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษาเลย

แต่หากคุณเป็นประชากรในหลายประเทศทั่วโลก ก็จะไม่พบเหตุการณ์เหล่านี้เลย คุณจะเห็นนโยบายเรียนฟรีแทน ยกตัวอย่างประเทศฟินแลนด์ ดินแดนการศึกษาที่ได้รับการยกย่องดีที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง เพราะนอกจากจะมีระบบการศึกษาและหลักสูตรที่แข็งแรงแล้ว พวกเขายังเปิดโอกาสให้เด็กชาวฟินแลนด์ทุกคนเรียนฟรีอย่างน้อยเก้าปี (Basic Education สำหรับช่วงอายุ 7-16 ปี) และถ้าสมัครใจจะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยก็ยังเรียนฟรีอย่างต่อเนื่อง

อีกหลายประเทศก็มีนโยบายเรียนฟรี เช่น นอร์เวย์ เดนมาร์ก สวีเดน ซึ่งบางทีเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาเรียนฟรีในระดับมหาวิทยาลัยอีกด้วย และถ้าในประเทศที่ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนก็ถือเป็นราคาที่ถูกมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ

หากดูงบประมาณที่กระทรวงศึกษาธิการไทยได้แต่ละปี ซึ่งมากเป็นอันดับต้นๆ ในบรรดาทุกกระทรวง เปรียบเทียบกับระบบการศึกษาในประเทศต่างๆ ก็คงสะท้อนความจริงได้ว่า ผู้บริหารประเทศเห็นคุณค่าในอนาคตของชาติมากแค่ไหน
much more than forty years happen to be best swiss best watch replica websites alpha dog. swiss cottoncandyvape.com learned your classy neoclassical fashion, and also in the modern-day aspects. the watchmaking crafts of read this post here is in the lead. ladies replicaoris.com. we offer the best and cheap swiss made bpfactoryrolex. balenciaga replika for sale for sale links with the outstanding watchmaking connotation.
 

การค้าบริการทางเพศ

มนุษย์ไม่จำเป็นต้องมีเซ็กซ์กันเพราะอยากมีลูกอย่างเดียว หากยังเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติได้ด้วย แต่ในความเป็นจริงนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีคู่รักเพื่อ Make Love ไม่ใช่ทุกคนที่ยินดีและสามารถหาคู่นอนแบบ One Night Stand หรือ Friend with Benefits ได้ การจ่ายเงินให้กับผู้ค้าบริการทางเพศจึงเป็นคำตอบ

เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีย่านท่องเที่ยวหนึ่งที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก คือย่าน De Wallen ที่เป็น Red Light District หรือเขตที่อนุญาตให้มีการค้าบริการทางเพศได้แบบถูกกฎหมาย โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูแลเพื่อป้องกันอันตรายที่มาจากทั้งผู้ค้าและผู้ใช้บริการ อีกทั้งมีการตรวจสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้นยังมีเซ็กซ์ช็อปที่ขายหนังโป๊และเซ็กซ์ทอย รวมถึงพิพิธภัณฑ์เซ็กซ์อีกด้วย

แทนที่จะปล่อยให้ผู้ค้าต้องเผชิญความเสี่ยงต่างๆ และต้องประกอบอาชีพแบบหลบๆ ซ่อนๆ กฎหมายของเนเธอร์แลนด์กลับเปิดโอกาสให้บุคคลที่อายุมากกว่า 18 ปี (บางเมืองกำหนดขั้นต่ำที่ 21 ปี) ลงทะเบียนเป็นผู้ค้าบริการทางเพศได้เพื่อสิทธิและการปกป้องที่ควรได้รับ แลกกับการจ่ายภาษีเหมือนอาชีพอื่นๆ 

ขณะที่ประเทศไทย แม้ทุกคนจะรู้ว่ามีผู้ค้าบริการทางเพศเป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันก็ยังเป็นอาชีพที่ผิดกฎหมาย อย่างที่เห็นได้จากบท ‘เปิดตา ‘ตีหม้อ’: สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด’ ว่าชีวิตของผู้ค้าบริการทางเพศในคลองหลอดนั้นเสี่ยงกับภัยอันตรายทุกด้าน คุณภาพชีวิตต่ำ ไม่มีองค์กรภาครัฐช่วยคุ้มครองดูแล หรือแม้แต่จะสนับสนุนให้มีทางเลือกชีวิตที่ดีกว่า ทว่า เลือกใช้วิธีไล่จับหรือทำเป็นมองไม่เห็น

ปล่อยให้พวกเขาต้องยืนหลบในมุมมืด เพื่อรอว่าจะมีใครช่วยให้ผ่านพ้นไปได้ในแต่ละวัน

พื้นที่และสิทธิในการแสดงออกทางการเมือง

หากได้ติดตามข่าวสารต่างประเทศ เราก็จะพบว่าการปิดถนนประท้วงเป็นเรื่องปกติ และเกิดขึ้นเป็นประจำ เพราะมันถือเป็นเครื่องมือที่ประชาชนสามารถใช้เพื่อแสดงความไม่พอใจ ไม่เห็นด้วยกับนโยบายหรือประเด็นต่างๆ เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบท ‘เด็กเมื่อวานซืน’ และ ‘ฮ่องกงปิดปรับปรุง’ ซึ่งปาณิสพาเราไปพูดคุยกับผู้คนที่ออกมารวมตัวประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยทั้งในไทยและฮ่องกง 

ทว่า การประท้วงในไทยและฮ่องกงอาจต่างออกไปในเรื่องสิทธิของผู้ชุมนุม วิธีปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมของเจ้าหน้าที่ และพื้นที่สำหรับการชุมนุม ในประเทศฝั่งตะวันตกจะให้ความสำคัญกับพื้นที่สาธารณะมากๆ ประชาชนจึงมีสวนสาธารณะ จัตุรัส หรือพื้นที่กว้างและโล่งพอที่จะรวมตัวชุมนุมนอกจากบนท้องถนน 

ต่างจากการชุมนุมในไทยเมื่อปี 2563 ที่กว่าจะเข้าไปใช้พื้นที่สนามหลวง หรือถนนบริเวณหน้ารัฐสภาได้ก็ต้องฝ่าด่านเจ้าหน้าที่มากมาย อีกทั้งยังโดนสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรงโดยไม่จำเป็นอีกด้วย ทั้งที่หากไม่มีปัญหาในสี่ประเด็นก่อนหน้าก็คงไม่มีประเด็นในข้อที่ห้า เพราะถ้า #การเมืองดี ชีวิตของผู้คนมีคุณภาพที่ดี ก็คงไม่มีใครอยากออกมาชุมนุม 

นอกจากปัญหาคุณภาพชีวิตที่เรายกตัวอย่างนี้แล้ว ก็ยังมีอีกหลายๆ ประเด็นที่คนตัวเล็กตัวน้อยจำนวนมากยังต่อสู้กับอำนาจใหญ่ เช่น การรุกไล่ที่ดินของนายทุนใหญ่ หรือปัญหาของแรงงานต่างด้าว หากอยากทำความเข้าใจว่าทำไมทุกคนถึงจำเป็นต้องมีความหวังเป็นของตัวเอง ตามไปอ่านทั้งหมดได้ใน ‘ไม่มีใครเป็นเจ้าของความหวังเพียงผู้เดียว’ ผลงานของ ‘ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย’ นักเขียนสารคดีและบรรณาธิการเว็บไซต์ The101.world

ที่มาข้อมูล


salmonbooks ไม่มีใครเป็นเจ้าของความหวังเพียงผู้เดียว

RELATED ARTICLES

VIEW ALL