การออกค่ายอาสาในต่างแดนหน้าตาเป็นเช่นไร ยิ่งการออกตรวจนั้นมาควบคู่กับการเดินขึ้นเขาหิมาลัย รวมกันแล้วจะออกมาเป็นแบบไหน?
วันนี้เราเลยหยิบ 8 เรื่องเล่าจาก 8 วันในค่ายของ ‘คัมภีร์ สรวมศิริ’ หมอเวชศาสตร์ฉุกเฉินผู้หลบหนีความวุ่นวายในชีวิตไปออกค่ายอาสาเพื่อรักษาผู้คนถึงอินเดียจากหนังสือ ‘หิมาลัยต้องใช้หูฟัง’ มาให้ทุกคนได้เห็นภาพคร่าวๆ ว่าค่ายบนหิมาลัยนั้นมีอะไรบ้าง
ถ้าคุณพร้อมแล้วก็ไปฟังเสียงหิมาลัยพร้อมกันได้เลย :->
DAY 2
ก่อนถึงเวลาไปค่ายจริง คัมภีร์เดินทางสู่อินเดียล่วงหน้าสี่วัน เพื่อตระเวนเที่ยวเล่น เตร็ดเตร่ในเมืองอื่นๆ และชื่นชมทัชมาฮาล ซึ่งก็จ้างไกด์นามว่า ‘ราช’ ชายผู้สร้างเรื่องมาเซอร์ไพรส์คัมภีร์เรื่อยๆ โดยการตะลอนเที่ยวกับราช (และไกด์เฉพาะกิจ) ก็ทำให้ได้เห็นวัฒนธรรมในอินเดียทีละนิด เช่น วันที่กำลังเดินทางไปเมืองอัครา คัมภีร์เห็นว่านอกจากเวลาขับรถจะต้องระวังรถยนต์ รถบรรทุก รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน คนเดินถนน หมา และแมวแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องใช้ความระมัดระวังขั้นสุดก็คือ วัว
—
“วัวที่เห็นตามถนนนี่มีเจ้าของไหมครับราช” ผมพยายามชวนราชคุยเพราะมันเงียบจนจะได้ยินเสียงเล็บงอกแล้ว
“บางตัวก็มี บางตัวก็ไม่มี” ราชตอบ
“มันเป็นวัวศักดิ์สิทธิ์” (It’s holy.) เขาเสริม หลังจากเงียบไปครู่หนึ่ง
ไม่ทันขาดคำก็มีวัวอยู่กลางถนนเลนขวาที่รถทุกคันขับด้วยความเร็วระดับสามจากห้าระดับ รถกระบะคันด้านหน้าพวกเราหักหลบแทบไม่ทัน ราชเองก็เช่นกัน
“เฮ้ย!” ผมอุทานเป็นภาษาไทย ขณะที่ราชหักซ้ายหลบวัวตัวนั้นได้อย่างหวุดหวิด
มาคิดๆ ดูแล้ว ถ้าจะให้ถูกต้อง ผมควรอุทานเป็นภาษาอังกฤษ และอุทานว่า
“HOLY COW!!!”
DAY 5
who makes the best http://paneraireplica.ru built authority into room table altar. who makes the best https://boatwatches.to is going to be switzerland look sector’s fantastic name brand. rolex vape lädt nicht will be the special heart and soul regarding specialist information and also talent. courage is a psychic symbolism about parmigiani bugatti watch replica usa.
นี่เป็นวันแรกที่ชาวค่ายได้บินตรงมาถึงเลห์ (Leh) ก่อนออกเดินทางขึ้นเขาหิมาลัยและออกตรวจผู้คนตามหมู่บ้าน อีกทั้งยังเป็นวันแรกที่คัมภีร์ได้พบกับ ‘ราวี’ ชายชาวอินเดียผู้ก่อตั้งโครงการ ‘Himalayan Health Exchange’ ที่คัมภีร์ติดต่อผ่านอีเมลมาตลอด และเป็นวันแรกของค่ายที่ราวีได้เล่าความเป็นมาให้ทุกคนฟัง
—
ราวีเล่าว่า HHE ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1996 ตอนแรกใช้ชื่อว่า Himalayan Spirit (หมอสตีฟบอกว่าเคยได้ยินชื่อตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว แต่เพิ่งจะได้มาร่วมปีนี้) เดิมทีเริ่มต้นในเขตอื่นของอินเดีย มาออกตรวจแถวๆ เลห์ได้ประมาณสิบสี่ปี และค่ายคาร์กิอัคของพวกเราปีนี้ถูกจัดขึ้นเป็นปีที่สิบ
โดยพื้นฐาน ราวีเป็นคนจากภูมิภาคหิมาชาล (Himachal Pradesh) เขามีความใฝ่ฝันอยากให้ชาวบ้านพื้นที่ห่างไกลในภูมิภาคเดียวกับเขาได้รับบริการทางการแพทย์ที่ดี จึงก่อร่างสร้างตัวเป็นค่ายต่างๆ ที่มีการเชิญชวนแพทย์ ทันตแพทย์ นักสาธารณสุขเข้ามาร่วมทีม ต่อมาจึงมีการเปิดให้นักศึกษาแพทย์เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในทีมด้วย และตอนนี้ HHE ก็ก้าวมาไกลกว่าจุดเริ่มต้นนั้นมาก มีการขยายขอบเขตพื้นที่ออกค่ายไปหลายภูมิภาค มีการออกค่ายปีละ 7-8 ค่าย และมีคนเข้าร่วมอีกปีละหลายร้อยคน
นิทานเรื่องนี้คงยังไม่มีตอนจบ และมันคงจะถูกเล่าต่อไปอีกเรื่อยๆ ผมมั่นใจว่าคนเล่าเองก็คงไม่เบื่อ เพราะผมแอบเห็นความภาคภูมิใจในแววตาของเขา
DAY 7
วันนี้คือวันที่ชาวค่ายได้ออกเปิดคลินิกแรก หลังจากเดินทางมาถึงเลห์ และปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่สูง โดยมีสถานที่อาคารสองชั้นขนาดกะทัดรัด ในทีมเลยแบ่งเป็น 6 ห้องตรวจ คัมภีร์ก็ได้รับมอบหมายให้ประจำห้องตรวจทั่วไปหมายเลข 3 ซึ่งมีนักศึกษาแพทย์สองคนเป็นลูกมือด้วย แต่ว่าวันนี้แอบแปลกๆ
—
“เดี๋ยวมานะ” ผมบอกทั้งสองคนก่อนเดินแวะไปดูห้องตรวจห้องอื่นๆ เผื่อว่าห้องไหนมีนักศึกษาแพทย์มากเกินและอยากแบ่งมาให้บ้าง แต่ดูเหมือนว่าทุกห้องจะมีนักศึกษาแพทย์พอๆ กัน ผมจึงเดินกลับมา
“สงสัยจะมีแค่เรานี่แหละ” ผมพูด หลังจากเดินกลับมาที่ป้ายหมายเลข 3
“แต่เรายังไม่มีหมอหัวหน้าทีมเลยนะ” เฮเลนบอกผม
สตั๊นไปสองวินาที เอ…นี่เราเคยแนะนำตัวกันไปแล้วไม่ใช่เรอะ คนไทยในนี้ก็มีอยู่แค่คนเดียว และไอ้คนไทยที่ว่านั่นก็เคยส่งอีเมลแนะนำตัวว่าเป็นหมอแล้วด้วย มันก็ไม่น่าจะจำยากนี่หว่า เอ้า! ไม่เป็นไรวะ ผมยิ้มแห้งๆ ให้เฮเลนก่อนบอกเธอไปว่า “ผมนี่แหละหมอหัวหน้าทีม”
DAY 11
วันนี้เป็นวันที่คัมภีร์และชาวแก๊งแพทย์มาตรวจเด็กๆ ที่โรงเรียน เลยได้เห็นชีวิตน้องๆ ต่างแดนในพื้นที่ห่างไกลไปด้วย
—
ที่นี่ไม่มีการเคารพธงชาติ ไม่มีการสวดมนต์ มีแต่การออกกำลังกายด้วยท่าทางประหลาด จะว่าแอโรบิกก็ไม่ใช่ โยคะก็ไม่เชิง ผมว่ามันเหมือนการเต้นประกอบเพลง ต่างกันตรงที่ไม่ได้เปิดเพลงประกอบตอนออกกำลังกาย อ่านไม่ผิดครับ เด็กที่นี่เขาออกกำลังกายตอนเช้า ท่ามกลางแดดเปรี้ยงตอนเก้าโมงและฝุ่นตลบอบอวล ผมนั่งมองเด็กๆ ทำกิจกรรมยามเช้าแล้วก็พอจะเดาได้แล้ว ว่าวันนี้คนไข้ส่วนใหญ่ของเราเป็นใคร
เด็กส่วนใหญ่จะเข้ามาทีละหลายๆ คน เพราะชอบแอบเข้ามาดูเพื่อนๆ โดนหมอตรวจร่างกายครับ แล้วก็หัวเราะคิกคักเวลาหมอสั่งให้เพื่อนอ้าปาก แบมือ หรือทำท่าตลกๆ โดยที่ไม่ได้คิดเลยว่าเดี๋ยวตัวเองก็โดนเหมือนกัน แต่มีเด็กอยู่ 1-2 คนที่ทำยังไงก็ไม่พูดอะไรเลย ถามเป็นสิบคำตอบคำเดียว แม้ว่าคุณครูสุดโหดจะขู่กรรโชกด้วยคำพูดก็แล้ว จับตัวเขย่าก็แล้ว แต่เสียงที่เล็ดลอดออกมาจากปากเด็กน้อยก็น้อยจนนับคำได้
DAY 12
วันนี้ออกเดินเท้าเพื่อไปยังหมู่บ้านชา (Cha) ซึ่งจัดว่าเป็นหนึ่งในการเดินเขามหาโหดพอตัว และคัมภีร์ผู้เดินที่รับตำแหน่งรั้งท้ายมาตลอดค่าย ก็รับบทนักหลงทางอีกหนึ่งตำแหน่ง
—
“เหนื่อยเนอะวันนี้” เจสันหันมาทักผมที่ตอนนี้กำลังนอนทำปากพะงาบอยู่ที่พื้น หวังว่าเขาคงไม่ไปตามหมอคนอื่นมาใส่ท่อช่วยหายใจให้ผม
“ช่าย… หลงทางด้วย ตลกมากเลย” ผมตอบและหัวเราะ
“อ้าวเหรอ แล้วหลงได้ไงน่ะ” เขาถามกลับ ดูแปลกใจกับความป่วงที่ไม่น่าเป็นไปได้
“ก็เดินอยู่กับเอฟเวอลีนแค่สองคน นีม่าไม่ได้อยู่ด้วย พอเจอทางแยกตรงสถูปสามอันก็ตัดสินใจไปทางซ้ายไง ไม่มีใครบอกให้ไปทางขวานี่” ผมเล่าเขินๆ
“แต่ทางนั้นก็มาถึงสะพานเหมือนกันนะ” ผมรีบสรุปเพื่อไม่ให้เสียหน้าไปมากกว่านี้ ก่อนหัวเราะกลบเกลื่อนความอายของตัวเอง
“งั้นก็ไม่นับว่าหลงหรอก” เขาตอบ แล้วหันกลับไปอ่านหนังสือ
มาคิดๆ ดูแล้วก็จริงของเจสันนะ บางครั้งหนึ่งจุดหมายก็มีทางไปถึงได้หลายทาง ถึงแม้ว่าเราจะหลงทาง แต่นั่นก็อาจเป็นหนึ่งในทางที่สามารถพาเราไปถึงจุดหมายได้เหมือนกัน ถ้าประสบการณ์ระหว่างทางสำคัญกว่าจุดหมาย ผมว่าการหลงทางน่าจะทำให้เราได้เห็นอะไรใหม่ๆ ได้ประสบการณ์ที่มีค่าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการเดินทางปกติที่คนอื่นเขาเดินกัน
และบางทีวิวสองข้างทางนั้นอาจจะเป็นเทือกเขาหิมาลัยก็ได้ ใครจะรู้
DAY 15
เดินทางกันมากว่าครึ่งค่ายแล้ว ทุกคนก็ได้มีโอกาสเดินทางมายังวัดพุกตาล ซึ่งเป็นวัดของ ‘ลามะจี’ หนึ่งในทีม HHE ซึ่งก็ได้รับการต้อนรับจากหัวหน้าลามะที่นั่นโดยการคล้องผ้าไหมสีขาวให้
—
ก่อนที่ท่านจะคล้องผ้าไหมสีขาวให้พวกเราทีละคนเป็นการต้อนรับ ผมสังเกตว่าท่านคุยกับราวีอย่างสนิทสนม และผ้าไหมที่คล้องคอราวีอยู่เป็นสีน้ำเงิน
“ทำไมของพวกเราเป็นสีขาว แต่ของคุณเป็นสีน้ำเงินครับ” ผมหันไปถามเขาหลังจากการคล้องผ้าไหมเสร็จสิ้น และนีม่ากำลังแบ่งพวกเราให้ไปเที่ยวชมภายในวัด
“ความหมายของสีผ้าไหมที่คล้องคอคงเหมือนสีของธงมนต์นั่นแหละ” เขาตอบแล้วหันไปคุยกับนีม่าเป็นภาษาฮินดี ทิ้งให้ผมงงกับความหมายของสีต่อไป
ถ้าคุณยังจำได้ สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์ สีน้ำเงินหมายถึงความฉลาด
แล้วทำไมเราถึงไม่ฉลาด แต่บริสุทธิ์?
DAY 18
การมาค่ายครั้งนี้คัมภีร์และทุกคนเหมือนได้ทดลองใช้ชีวิตแบบไร้สัญญาณอินเทอร์เน็ต ซึ่งก็น่าจะทำให้ได้มีเวลาอยู่กับตัวเอง ทำความรู้จักผู้คน และเรื่องราวรอบตัวมากยิ่งขึ้น
—
จะว่าไปผมก็เริ่มชินกับชีวิตแบบนี้ เพราะนี่ก็ปาเข้าไปเกือบสิบวันแล้วที่เราบอกลาสิ่งไม่มีชีวิตที่เรียกว่าไฟฟ้า สัญญาณโทรศัพท์ และสัญญาณอินเทอร์เน็ต เปลี่ยนมาใช้ชีวิตแบบค่ำไหนนอนนั่น นอนกลางดินกินกลางภูเขา เข้าส้วมหลุม และอาบน้ำบ้างไม่อาบน้ำบ้างแบบนี้
สังคมก้มหน้าอาจทำให้เราใช้เวลากับการมองหน้าจอมากเกินไป ทำให้เรามีเวลาสังเกตสิ่งต่างๆ รอบข้างน้อยลง เกือบสิบวันที่ผ่านมา ผมกลับมามองโลกในสายตาที่เหมือนเด็กมองโลกอีกครั้ง ทุกอย่างน่าสนใจและแปลกตาไปเสียหมด ภูเขาสีน้ำตาลสลับเขียวสลับขาว แม่น้ำสีเทาขุ่น คนเลี้ยงล่อกำลังต้อนล่อข้ามแม่น้ำไปหาหญ้ากินที่ฝั่งตรงข้าม และเด็กน้อยที่กำลังเดินตามคุณยายกลางทุ่งหญ้าสีเขียวอ่อน ใครจะว่าภาพแบบเรตินาบนหน้าจอคมชัดสวยบาดตาแค่ไหน แต่ผมว่ายังไงมันก็สู้ภาพจริงที่เห็นตรงหน้าไม่ได้อยู่ดี
DAY 22
อีกหนึ่งหมุดหมายของค่ายอาสาครั้งนี้คือการเดินเท้าไต่ขึ้นจุดชิงโกลาพาส ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 5,100 เมตร การเดินเท้าขึ้นไปนั้นเต็มไปด้วยความยากลำบาก แถมชาวค่ายก็เจอเรื่องไม่คาดคิดระหว่างทางอีกด้วย ถึงอย่างนั้นภาพเมื่อไปยืนจุดสูงสุดก็โอบกอดความพยายามของทุกคนได้เป็นอย่างดี
—
ขณะหยุดพัก ผมหยิบเอาโทรศัพท์กับหูฟังมาเปิดเพลงกรอกหูเพื่อสร้างสมาธิ จู่ๆ เนื้อร้องท่อนนี้ก็ดังขึ้นในหูฟังทั้งสองข้างของผม
“Oh, we’ve got a long, long way to go to get there, we’ll get there
But oh, if there’s one thing that we know
is that we will not grow old, we will not grow old”
ไม่รู้เหลือระยะทางอีกไกลไหม แต่ถึงตอนนี้ผมรู้แล้วว่าไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ทุกความสำเร็จเกิดจากความพยายาม และมันจะดีแค่ไหนถ้ามีใครสักคน (หรือหลายคน) ร่วมเดินทาง ร่วมสร้างประสบการณ์ดีๆ นี้ไปกับเรา
salmonbooks หิมาลัยต้องใช้หูฟัง